Header

mark

โควิด-19 ระลอกใหม่ พุ่งหลังสงกรานต์ ควรตระหนักแต่ไม่ตื่นตระหนก

19 เมษายน 2566

หลังจากเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2566 ที่ผ่านพ้นไปหลายๆ คนที่เดินทางกลับภูมิลำเนาไปพักผ่อนและฉลองร่วมกับครอบครัวในขณะที่มีการผ่อนคลายทางมาตรการควบคุมของสถานการณ์โควิด-19 ที่มีการอนุญาตให้จัดงานเป็นปีแรก ประชาชนออกมาร่วมสนุกสนานในกิจกรรมในเทศกาลสงกรานต์ในแต่ละพื้นที่เป็นจำนวนมาก มีการรวมตัวใกล้ชิดกับผู้คนที่ไม่รู้จัก โดยที่ไม่ใส่หน้ากากอนามัย จึงเป็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการติดเชื้อได้  โดยจากการคาดการณ์ไว้ว่าช่วงสงกรานต์จะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นแม้อาการไม่หนักแต่ก็ไม่ควรมองข้าม

นพ.ศราวุธ มากล้น อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ ประจำโรงพยาบาลพิษณุเวช ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ แนะหลังจากเดินทางกลับมาจากการร่วมเทศกาลสงกรานต์ให้เฝ้าสังเกตอาการของโควิดของตนเองและครอบครัวภายใน 7 วัน ควรใส่หน้ากากอนามัยและหลีกเลี่ยงสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  “ถ้าหากเริ่มมีอาการไข้ เจ็บคอ มีน้ำมูก คั่นเนื้อคั่นตัว ให้ตรวจด้วย Antigen Test Kit หรือ ATK  หากผลเป็นบวก ควรมาปรึกษาแพทย์ หากยังไม่มีอาการปรากฏยังไม่แนะนำให้ตรวจ ATK”

 

อย่างไรก็ตามสถานการณ์โควิดสายพันธุ์ใหม่ก็ยังน่าเป็นห่วงและควรตระหนักถึงการป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะสายพันธุ์โควิดลูกผสม XBB.1.16 ที่ขณะนี้มีการแพร่มากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะที่อินเดีย ที่มีการระบาดเพิ่มมากขึ้นมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ทั้งยังดื้อต่อภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ และภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนในช่วงปีที่ผ่านมาซึ่งยังไม่เป็น Bivarent vaccine สายพันธุ์ XBB.1.16 ยังเป็นลูกหลานจากตระกูลโอมิครอน ไม่เหมือนสายพันธุ์ในอดีต ที่เป็นตัวต้นตระกูลที่กลายพันธุ์ ทั้งอู่ฮั่น อัลฟา เบตา เดลตา  ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเชื่อว่า XBB.1.16 มีแนวโน้มแทนที่สายพันธุ์อื่นๆ กลายมาเป็นสายพันธุ์หลักที่จะระบาดในช่วงต่อไป แต่ยังไม่พบว่ามีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์โอมิครอนอื่นๆ จึงยังไม่ควรตื่นตระหนก

อาการเบื้องต้นที่พบของสายพันธุ์นี้ พบมีอาการไข้สูง มีหวัด และไอ นอกจากนั้นมีรายงานในอินเดียซึ่งพบอาการเด่นที่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่นคือ “มีเยื่อบุตาอักเสบ มีอาการคันตา ขี้ตาเหนียว ทำให้ลืมเปลือกตาไม่ขึ้น แต่ไม่ได้เป็นหนอง” อาจทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเป็นอาการภูมิแพ้ แต่อาการดังกล่าวยังไม่พบในเคสที่พบในไทยทั้งหกราย

 หากพบว่ามีอาการดังกล่าวควรรีบมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพราะจากลักษณะอาการดังกล่าวอาจเข้าใจผิดได้ว่าเป็นอาการภูมิแพ้

ดังนั้นสิ่งที่ยังคงสำคัญที่สุดสำหรับการป้องกันโควิด-19 คือการฉีดวัคซีน แม้จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่ช่วยเป็นเกราะป้องกันการป่วยหนักและลดการเสียชีวิตได้ สำหรับผู้ที่ฉีดเข็มสุดท้ายนานเกิน 4 เดือน โดยเฉพาะในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง อายุมากกว่า 60 ปี หรือมีโรคประจำตัว ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อรุนแรง  แนะนำให้เข้ามารับวัคซีนโควิดเพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน  โดยเฉพาะในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง อายุมากกว่า 60 ปี หรือมีโรคประจำตัว จึงควรได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ประจำปี หรือเข็มกระตุ้น และควรสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะเมื่อใกล้ชิดผู้อื่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

03 เมษายน 2568

รพ.พริ้นซ์ อุทัยธานี ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ และวันอนุรักษ์มรดกไทย

2 เมษายน 2568 – โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุทัยธานี ในเครือพริ้นซ์ (PRINC GROUP) เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมายุ 70 พรรษา และ วันอนุรักษ์มรดกไทย ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์วงเดือน อาคมสุรทัณฑ์ จังหวัดอุทัยธานี

03 เมษายน 2568

รพ.พริ้นซ์ อุบลราชธานี ร่วมกับ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ และเหล่ากาชาดอุบลฯ จัดกิจกรรมบริจาคโลหิต

1 เมษายน 2568 – โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุบลราชธานี ในเครือพริ้นซ์ (PRINC GROUP) ร่วมกับ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และ เหล่ากาชาดจังหวัดอุบลราชธานี จัดกิจกรรมรับบริจาคโลหิตเพื่อช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์

03 เมษายน 2568

รพ.พริ้นซ์ อุบลราชธานี ร่วมกับ Monsoon Wind Power จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ในงานประเพณีแข่งเรือ เมืองดากจึง สปป.ลาว

29-30 มีนาคม 2568 – โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุบลราชธานี ในเครือพริ้นซ์ (PRINC GROUP) ร่วมกับ Monsoon Wind Power Company Limited จัดกิจกรรมออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ในงานประเพณีแข่งเรือ ณ เมืองดากจึง สปป.ลาว

03 เมษายน 2568

รพ.พริ้นซ์ สกลนคร ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกลุ่มบริษัท เวียงจันทน์ปะกันไพ เสริมสร้างความร่วมมือด้านการดูแลผู้ป่วยจาก สปป.ลาว

1 เมษายน 2568 – โรงพยาบาลพริ้นซ์ สกลนคร ในเครือพริ้นซ์ (PRINC GROUP) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ กลุ่มบริษัท เวียงจันทน์ปะกันไพ จำกัด เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยจาก สปป.ลาว