Header

mark

คนพิการกับโอกาสในการทำงาน

27 กรกฎาคม 2566

ปัจจุบันสังคมมีทัศนคติเชิงบวกต่อคนพิการ มีการยอมรับความหลากหลายในสังคม และเห็นคุณค่าของกลุ่มคนพิการในสังคมมากขึ้น พร้อมเพิ่มโอกาสการมีงานทำ ช่วยเสริมสร้างทักษะและความสามารถของคนพิการ เพื่อสร้างสิทธิและความเสมอภาคให้กับคนพิการ การมีงานทำไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างความรู้ความสามารถ และความชำนาญของผู้พิการ แต่ยังช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และลดภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของคนพิการและครอบครัว ทำให้เกิดการขับเคลื่อนที่ยั่งยืนในสังคม ทั้งนี้ภาครัฐบาล ภาคเอกชน และสังคม ควรร่วมมือกันเพื่อสร้างสังคมที่ทุกคนสามารถมีโอกาส และสิทธิเท่าเทียมในการมีงานทำ


การจ้างงานผู้พิการส่งเสริมความเท่าเทียมในสังคม
สังคมที่เท่าเทียม คือ สภาพแวดล้อมและสังคมที่ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเพศ เชื้อชาติ ศาสนา ส่วนสูง สภาพร่างกาย ทุกคนควรมีโอกาสเท่าเทียมในการเข้าถึงสิทธิและโอกาสต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสังคม  ทั้งสิทธิในการศึกษา การทำงาน การเข้าถึงบริการสาธารณะ และการมีชีวิตอยู่ที่มั่นคง โดยไม่คำนึงถึงเงื่อนไขของพวกเขา ดังนั้นการมีโอกาสในการทำงานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการส่งเสริมความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันในสังคม การส่งเสริมโอกาสในการทำงานสำหรับคนพิการเป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์ไม่เพียงแต่ต่อคนพิการเอง แต่ยังเป็นการเสริมสร้างสังคมที่เปิดกว้าง สร้างการรับรู้ความสำคัญและความเท่าเทียมของทุกคนในสังคม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง


อย่างไรก็ตาม มีการดำเนินการเพื่อสร้างโอกาสในการทำงานให้กับคนพิการ อาทิ การสร้างนโยบายและกฎหมายที่ส่งเสริมโอกาสในการทำงานให้กับคนพิการ ซึ่งองค์กรสามารถจ้างงานคนพิการหรือสามารถมีส่วนร่วมในโครงการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการได้ มีการเสริมสร้างทักษะและการฝึกอบรม เพื่อสร้างความพร้อมในการทำงานของคนพิการกับตำแหน่งงานที่มีอยู่ ทำให้ผู้พิการมีความเชื่อมั่นและความมั่นใจในความสามารถการทำงานของตนเอง สามารถมีส่วนร่วมในสังคม และมีความเท่าเทียมเทียบเท่ากับคนทั่วไป


PRINC กับการให้โอกาสการจ้างงาน

ทางบริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ PRINC ร่วมกับมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ได้มอบโอกาสในการทำงานให้กับผู้พิการ ปัจจุบันมีการจ้างงานผู้พิการอยู่ที่ 18 อัตรา และมีแนวโน้มในการจ้างงานมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้านคุณอติยา อาวัชนาการ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านความยั่งยืน กล่าวว่า การจ้างงานของโรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ นอกจากจะทำให้องค์กรได้พบกับคนทำงานที่มีคุณภาพมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการช่วยสนับสนุนให้โอกาสคนพิการได้ทำงานหาเลี้ยงชีพตนเอง และสามารถยืนหยัดอยู่ในสังคมได้อย่างเท่าเทียม สร้างความยั่งยืนในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และสามารถต่อยอดช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปในสังคม ตรงตามปณิธานของโรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ คือ การเป็นองค์กรที่ “สร้างคนที่มีจิตใจของผู้ให้" เพื่อช่วยเหลือทั้งคน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

ด้านคุณมัลลิกา ตะติยาพรพันธ์ หน่วยประสานงานการจ้างงานคนพิการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านพญาชมภู จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงผู้พิการอีกหลายคน ที่อยู่ในวัยที่ยังสามารถทำงานได้ มีความสามารถจากการศึกษา แต่โอกาสเข้าถึงแหล่งงานที่ให้โอกาสรับเข้าไปทำงานนั้นยากมาก เนื่องจากผู้พิการบางคนมีข้อจำกัดในบางเรื่อง ทำให้เสียโอกาสในการทำงาน จึงไม่ได้ใช้ศักยภาพที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งได้รับโอกาสที่ดีจากบริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) และ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ได้มอบโอกาสในการทำงานให้กับผู้พิการ โดยการจ้างงานผู้พิการ ไม่เพียงแต่เป็นการพัฒนาของผู้พิการเอง แต่เป็นการพัฒนาระบบของหน่วยงานอีกด้วย เนื่องจากหน่วยงานที่รับคนพิการเข้าทำงาน ต้องมีการทบทวนและพัฒนาองค์กร พร้อมรองรับการทำงานของคนพิการ ให้ความสำคัญในการเข้าถึงของคนพิการ และยังพัฒนาความสัมพันธ์ขององค์กรกับชุมชนให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้นอีกด้วย


ทำไมต้องจ้างงานคนพิการ?
การจ้างงานคนพิการมีข้อดีหลายด้านที่มีประโยชน์ต่อกลุ่มคนพิการ องค์กร และสังคมได้ดังนี้
1.    สร้างโอกาสและความเสมอภาค การจ้างงานผู้พิการเป็นการช่วยสร้างโอกาสในการทำงาน ช่วยส่งเสริมความรู้และความเข้าใจความเสมอภาคของคนพิการในสังคม
2.    พัฒนาทักษะและความสามารถ การมีงานทำช่วยส่งเสริมให้ผู้พิการได้พัฒนาทักษะและความสามารถที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่มีอยู่ และช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในความสามารถของผู้พิการ
3.    สร้างโอกาสในการมีงานทำ การจ้างงานคนพิการช่วยเพิ่มโอกาสในตลาดแรงงาน ทำให้มีอาชีพ และเกิดรายได้ในการลดภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
4.    สร้างความหลากหลาย การจ้างงานคนพิการส่งเสริมความหลากหลายในกลุ่มสังคมการทำงาน และสร้างสังคมที่เสมอภาคในสถานที่ทำงาน
5.    ส่งผลดีในเชิงเศรษฐกิจ การจ้างงานคนพิการช่วยเพิ่มกำลังในตลาดแรงงาน ส่งผลให้เกิดเศรษฐกิจใหม่และสร้างรายได้ใหม่ในสังคม
6.    ลดความเหลื่อมล้ำ การมีงานทำช่วยลดความเหลื่อมล้ำในกลุ่มคนพิการ และเสริมสร้างความมั่นใจในคุณค่าของผู้พิการ
7.    การพัฒนาสังคม ส่งเสริมความเข้าใจและเคารพความหลากหลายของคนพิการในสังคมอย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป


ศักยภาพในการทำงานของคนพิการ
หลังจากบริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ PRINC ร่วมกับมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม เปิดโอกาสให้ผู้พิการมีงานทำ จึงทำให้เห็นศักยภาพการทำงานหลายด้านจากผู้พิการ อาทิ การทำงานด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คีย์ข้อมูลในระบบโปรแกรมงานด้านสาธารณสุข การทำงานด้านไอที สามารถลงโปรแกรมต่าง ๆ รวมไปถึงการซ่อมคอมพิวเตอร์ งานด้านบริการดูแลคนไข้และคัดกรองเบื้องต้น นอกจากนี้ยังสามารถร่วมกิจกรรมในชุมชนได้เป็นอย่างดี ประชาสัมพันธ์แนะนำข้อมูลกับชุมชน กิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ ลงพื้นที่กายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน ซึ่งคนพิการสามารถทำงานหลากหลาย ขึ้นอยู่กับระดับความพิการและความสามารถของแต่ละบุคคล ตัวอย่างงานที่คนพิการสามารถทำได้ ได้แก่
1.    งานที่ต้องใช้สายตา เช่น เขียนเอกสาร และงานด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.    งานที่ต้องใช้ความรู้และทักษะในสายงาน เช่น งานในด้านการเงิน การบัญชี การขาย การตลาด และการวางแผนกลยุทธ์ เป็นต้น
3.    งานที่เกี่ยวกับสื่อสาร เช่น งานด้านการเขียนบทความ และการแปลภาษา เป็นต้น
4.    งานในอุตสาหกรรม เช่น งานผลิต การซ่อมบำรุง และการติดตั้ง เป็นต้น
5.    งานที่ต้องใช้ความสามารถทางกาย เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับการบริการลูกค้า งานในโรงแรม ร้านอาหาร หรืองานในการดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น
6.    งานสำหรับคนพิการที่มีความสามารถเฉพาะ เช่น งานศิลปะ การออกแบบกราฟิก การพัฒนาซอฟต์แวร์  เป็นต้น


ความรู้สึกของผู้พิการหลังจากได้โอกาสการจ้างงาน


คุณค่าที่ทาง PRINC ส่งไปไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวเลข แต่นั้นคือชีวิตหนึ่งคน นอกจากผู้พิการสามารถดูแลตนเองได้แล้ว ก็ยังสามารถดูแลชีวิตอื่น ๆ ต่อได้อีกด้วย อยากให้ภาคภูมิใจในตนเอง และมีกำลังใจในการทำงานต่อไปเรื่อย ๆ ในนามตัวแทนบริษัทฯภูมิใจในผู้พิการทุกคนอย่างมาก คุณอติยา อาวัชนาการ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านความยั่งยืน กล่าวทิ้งท้าย

หากบริษัท หน่วยงาน หรือท่านผู้สนใจประสงค์ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการมอบโอกาสการจ้างงานผู้พิการ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คุณสุรัชนา ชอบชื่นสุข มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ผ่านทางอีเมล: [email protected] หรือติดต่อที่ Facebook Fanpage "คนพิการต้องมีงานทำ - มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม"

เรียบเรียงโดย : ธัญชณัท เอกจิรวรรธ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

13 พฤศจิกายน 2567

รพ.พริ้นซ์ อุทัยธานี จัดงานฉลองครบรอบ 5 ปี พร้อมเปิดตัว BREAST CLINIC "Ribbon of Care"

12 พฤศจิกายน 2567 – โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุทัยธานี ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ และ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล (PRINC) จัดงานฉลองครบรอบวันคล้ายวันเกิดของโรงพยาบาลครบรอบ 5 ปี โดยมีพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์ และพิธีทำบุญตักบาตร เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้บริหาร ทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรของโรงพยาบาล ซึ่งได้รับเกียรติจาก ท่านธีรพัฒน์ คัชมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี เป็นประธานในพิธีเปิด และ แพทย์หญิงศิวิมล อารีพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพริ้นซ์ อุทัยธานี เป็นผู้กล่าวรายงาน

13 พฤศจิกายน 2567

รพ.พริ้นซ์ อุบลราชธานี ร่วมงานวางศิลาฤกษ์และกฐินสามัคคีประจำปี 2567

10 พฤศจิกายน 2567 – โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุบลราชธานี ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ และ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล (PRINC) นำโดย พว.ศศิวัณย์ อัครชุมสิริ ผู้จัดการฝ่ายการพยาบาล และ คุณชาฤทธิ์ ชมเดือน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด เข้าร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์และกฐินสามัคคีมูลนิธิโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ประจำปี 2567 ณ โรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ จ.อุบลราชธานี

13 พฤศจิกายน 2567

รพ.พริ้นซ์ อุบลราชธานี สนับสนุนและร่วมงาน BABY FAIR อุบลฯ ครั้งที่ 1

5-18 พฤศจิกายน 2567 – โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุบลราชธานี ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ และ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล (PRINC) เข้าร่วมงาน BABY FAIR อุบลฯ ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลอุบลราชธานี โดยโรงพยาบาลพริ้นซ์ อุบลราชธานีเป็นโรงพยาบาลเพียงแห่งเดียวที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานครั้งนี้ เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่ได้รับความไว้วางใจในการดูแลและรักษาคุณแม่และเด็กในพื้นที่

12 พฤศจิกายน 2567

PRINC ปักหมุดอีสานล่าง เตรียมเปิด “ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา” แห่งแรกของศรีสะเกษ ธ.ค. นี้ มุ่งครอบคลุมทุกสิทธิการรักษาโรคมะเร็งและให้บริการครบวงจร

โรคมะเร็งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ กระทบชีวิตของประชาชนเป็นอันดับที่ 1 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 ซึ่งครอบคลุมจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ตอนล่าง จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร (ที่มา: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข, มี.ค. 66) พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งจำนวนกว่า 107.55 รายต่อแสนประชากร และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10