Header

mark

PRINC Health Link การเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษา ระหว่างโรงพยาบาลและคลินิกในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์

26 กันยายน 2566

PRINC Health Link คืออะไร ?

PRINC Health Link คือ ระบบสำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพและประวัติการรักษา ระหว่างโรงพยาบาลและคลินิกในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ เนื่องจากการเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษามีความสำคัญอย่างมากในการรักษา ซึ่งทำให้แพทย์และบุคลากรการแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีความจำเป็นในการรักษา จึงให้การรักษาได้ถูกต้อง รวดเร็ว ครอบคลุม ลดความเสี่ยงในการสั่งยาซ้ำ สามารถลดค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน และในกรณีฉุกเฉิน ข้อมูลเหล่านั้นจะช่วยรักษาชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที

โดยการเก็บข้อมูลประวัติการรักษามีความปลอดภัย ด้วยการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) และจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล โดยจะต้องเป็นแพทย์และบุคลากรการแพทย์ผู้ทำการรักษาเท่านั้น

ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องให้ความยินยอมการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  หรือ PDPA ในเอกสารแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษา ระหว่างโรงพยาบาลและคลินิกในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ได้


ประโยชน์มีอะไรบ้าง ?
- แพทย์และบุคลากรการแพทย์สามารถดูประวัติการรักษา ระหว่างโรงพยาบาลและคลินิกในเครือได้อย่างรวดเร็ว
- แพทย์และบุคลากรการแพทย์สามารถดูข้อมูลสำคัญในกรณีฉุกเฉิน
- ผู้ป่วยไม่ต้องเสียเวลา หากมีการตรวจซ้ำเพิ่ม
- แพทย์และบุคลากรการแพทย์สามารถรักษาได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ปกป้องข้อมูลประวัติการรักษาอย่างไรบ้าง ?
- ข้อมูลจัดเก็บปลอดภัยด้วยระบบคลาวด์
- ระบบมีความเสถียร
- มีมาตรฐานความปลอดภัยข้อมูล
- มีระบบเข้ารหัสชุดข้อมูลประวัติการรักษา
- จำกัดสิทธิ์การเข้าถึง โดยแพทย์ต้องได้รับสิทธิ์จากโรงพยาบาล และยืนยันตัวตนผ่านระบบแพทยสภา
- เก็บประวัติการเข้าถึงข้อมูล
- ประวัติการเข้าถึงข้อมูลถูกจัดเก็บแบบอัตโนมัติ (Activity Logs)

ขั้นตอนอย่างไรบ้าง ?
1. ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและคลินิกในเครือ
2. บุคลากรทางการแพทย์ต้องการทราบข้อมูลประวัติการรักษาสุขภาพของผู้ป่วย
3. แพทย์และบุคลากรการแพทย์ผู้ทำการรักษาเท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์เข้าถึงประวัติการรักษา ซึ่งต้องยืนยันตัวตนทุกครั้ง และมีการจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล
4. ระบบจะทำการจัดเก็บ และแสดงผล ข้อมูล ประวัติการรักษาและข้อมูลสุขภาพ เพื่อประกอบการรักษาพยาบาลเท่านั้น

 

Q&A คำถามที่พบบ่อย 

 

A: กรณีผู้ป่วยเก่า ผู้รับบริการจะต้องให้ความยินยอมการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะรวมถึง ข้อกำหนดในการแบ่งปันข้อมูลสุขภาพและประวัติการรักษาของผู้รับบริการผ่านสถานพยาบาลในเครือฯด้วย ทั้งนี้หากผู้รับบริการเคยให้ความยินยอมการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ไว้แล้วจากการมารับการรักษาก่อนหน้านี้ แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนร่วมในการรักษาจะสามารถใช้ข้อมูลประวัติการรักษา ของโรงพยาบาลและคลินิกในเครือแห่งอื่นได้เลย โดยที่ผู้รับบริการไม่ต้องแจ้งความยินยอมอีก กรณีผู้ป่วยใหม่ เมื่อผู้รับบริการเข้ารับบริการลงทะเบียนและเซ็นเอกสารแล้ว ณ สถานพยาบาลในเครือฯแล้ว ข้อมูลของผู้รับบริการจะถูกเชื่อมโยงประวัติการรักษาระหว่างสถานพยาบาลในเครือทันที ทั้งนี้ หากผู้รับบริการไม่ประสงค์ให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษาระหว่างสถานพยาบาลท่านสามารถติดต่อได้ที่ แผนกเวชระเบียนของโรงพยาบาลหรือคลินิกในเครือ ที่ผู้รับบริการไม่ประสงค์เชื่อมโยงข้อมูล

A: เนื่องจากประวัติการรับการรักษาของผู้รับบริการ ซึ่งเก็บอยู่ในรูปแบบ ‘เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์’ เอกสารทางการแพทย์ทุกประเภทที่ใช้บันทึกและเก็บรวบรวมประวัติของผู้รับบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ ประวัติการรักษาที่เกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบัน การแพ้ยา และประวัติการใช้ยา ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (Sensitive Data) การเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้หรือเปิดเผยข้อมูล จะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA

A: สำหรับ PRINC Health Link ถือเป็นการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศโดยเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการบริหารจัดการโรงพยาบาล (Hospital Information System หรือ HIS) ซึ่งระบบดังกล่าวไม่อนุญาตให้ บุคคลภายนอก ซึ่งไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ และอยู่ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยข้อมูล FHIR (Fast Healthcare Interoperability Resources) หากผู้รับบริการประสงค์ตรวจสอบข้อมูลประวัติการรักษาผ่านระบบออนไลน์ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน PRINC HEALTH ทั้งระบบ iOS และ Andriod ซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของโรงพยาบาลในเครือฯที่เข้ารับบริการ โดยสามารถดูประวัติการเข้ารับบริการรวมทั้งข้อมูลผลทางห้องปฏิบัติการผ่านทางแอปพลิเคชันได้ด้วยตนเอง หรือ หากผู้รับบริการประสงค์ต้องการของข้อมูลประวัติการรักษา สามารถติดต่อได้โดยตรง หรือกรอกเอกสารมอบอำนาจการขอข้อมูลประวัติการรักษาได้ที่ โรงพยาบาลและคลินิกในเครือฯ ได้เช่นกัน

A: ข้อมูลประวัติการรักษาของผู้รับบริการแต่ละท่าน จะถูกจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ ของโรงพยาบาลและคลินิกในเครือฯ เท่านั้น ขณะเดียวกันข้อมูลประวัติการรักษาของผู้รับบริการ มีความปลอดภัยด้วยระบบการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงพยาบาลและคลินิกในเครือฯ ขณะเดียวกันระบบมีความปลอดภัยสูงและมีเสถียรภาพผ่านมาตรฐานความปลอดภัยของการจัดเก็บข้อมูล ระบบปฏิบัติการ Centrix ติดตั้งใน Private Cloud ที่มีความพร้อมใช้งานสูง กระจายตัวอยู่หลาย Data Center ที่ได้รับรองมาตรฐานสากล เช่น INFORMATION SECURITY MANAGEMENT SYSTEM (ISO/IEC 27001:2022) CLOUD SECURITY MANAGEMENT SYSTEM (ISO/IEC 27017:2015) INFORMATION SECURITY MANAGEMENT SYSTEM (NIST CSF) นอกจากมาตรฐานที่ได้รับ ทางบริษัทยังมีติดตั้งระบบเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์และมีทีมติดตามเฝ้าระวัง เพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลตลอด 24 ชม.

A: ประวัติการรักษาจะไม่เชื่อมโยงระหว่างสถานพยาบาล ในกรณีที่ผู้รับบริการไม่ให้ความยินยอมการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลที่เป็นผู้รักษาในครั้งที่ต้องการแชร์ข้อมูลให้กับโรงพยาบาล และคลินิกอื่นในเครือฯ และมีโอกาสที่ข้อมูลประวัติการรักษาของผู้รับบริการอาจจะไม่เชื่อมโยงระหว่างสถานพยาบาลได้ เช่น กรณีที่ผู้รับบริการไม่ได้มีการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลและคลินิกในเครือแห่งนั้น ภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งจะทำให้ข้อมูลประวัติการรักษา หรือ เอกสารเวชระเบียนของผู้รับบริการถูกทำลาย ทำให้ข้อมูลไม่สามารถเชื่อมโยงบนระบบ PRINC Health Link ได้ ทั้งนี้ผู้รับบริการสามารถขอทำการคัดลอกสำเนาข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาล ผ่านการแจ้งความประสงค์โดยตรงไปยังโรงพยาบาลและคลินิกในเครือฯทุกแห่งได้

A: ผู้รับบริการต้องดำเนินการให้ความยินยอมให้ใช้ข้อมูลประวัติการรักษา ที่โรงพยาบาลที่เป็นผู้รักษาในครั้งที่ต้องการแชร์ข้อมูลให้กับโรงพยาบาล และคลินิกอื่นในเครือฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

04 ธันวาคม 2566

รพ.พริ้นซ์ อุบลราชธานี ร่วมสนับสนุนโครงการ SAFETY TOURIST เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสุขภาพ จ.อุบลราชธานี

โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุบลราชธานี ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ และ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล หรือ PRINC  ในฐานะผู้สนับสนุนโครงการ SAFETY TOURIST ได้ร่วมออกบูธแสดงอุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือชีวิตในกรณีเกิดอุบัติเหตุ เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านสุขภาพ ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางหลากหลายสาขา หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินที่พร้อมดูแลนักท่องเที่ยวในกรณีเกิดอุบัติเหตุ พร้อมทั้งให้คำปรึกษาด้านสุขภาพแก่นักท่องเที่ยว อีกทั้งยังให้บริการด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการชาวต่างชาติ ด้วยโปรแกรม Wellness Tourism นอกจากรับบริการด้านสุขภาพแล้ว ยังสามารถท่องเที่ยวในจังหวัด อาทิ สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ, สถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม, Street food และอื่นๆ

04 ธันวาคม 2566

รพ.พริ้นซ์ ศรีสะเกษ มอบป้ายจราจร แก่สถานีตำรวจภูธรเมืองศรีสะเกษ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงการขับขี่ ในช่วงเทศกาลปีใหม่

โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ และ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล หรือ PRINC นำโดย นายแพทย์ตะวัน จึงสมาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ พร้อมด้วยแผนกการตลาด และบุคลากรทางการแพทย์ เดินทางไปยังสถานีตำรวจภูธรเมืองศรีสะเกษ เพื่อมอบป้ายจราจร แก่สถานีตำรวจภูธรเมืองศรีสะเกษ โดยมี พ.ต.อ.ณัฐกิตติ์ เจริญเกษสุวรรณ์ ผกก.สภ.เมืองศรีสะเกษ และคณะ เป็นผู้รับมอบป้ายในครั้งนี้ ซึ่งการมอบป้ายจราจรมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมในการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการขับขี่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยมีแผนการติดตั้งบริเวณสี่แยกรอบเมืองศรีสะเกษ ทั้งหมดจำนวน 20 ป้าย

04 ธันวาคม 2566

รพ.พิษณุเวช พิจิตร ร่วมเป็นผู้สนับสนุน และรับขบวนอัญเชิญ ในงานประเพณีกราบไหว้เจ้าพ่อปุนเท่ากง-เจ้าพ่อหลวงกง พิจิตร “๑๐๑ ปี ศรัทธา มั่นคง”

โรงพยาบาลพิษณุเวช พิจิตร ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ และ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล หรือ PRINC นำโดย นายแพทย์วิชญเวทย์ รักษ์กุลชน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิษณุเวช พิจิตร และแพทย์หญิงวิลาสินี รัตนชัยวงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิษณุเวช พิจิตร เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ และร่วมรับขบวนอัญเชิญเจ้าพ่อปุนเท่ากง-เจ้าพ่อหลวงกง คณะมังกรทอง คณะสิงโต 9 หัว และเหล่านางฟ้าน้อย ในงานประเพณีกราบไหว้เจ้าพ่อปุนเท่ากง-เจ้าพ่อหลวงกง พิจิตร “๑๐๑ ปี ศรัทธา มั่นคง” โดยทำการแสดงและตั้งจุดกราบไหว้บริเวณหน้าโรงพยาบาล เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่คณะบุคลากร รวมถึงผู้รับบริการทุกท่าน

04 ธันวาคม 2566

รพ.พริ้นซ์ ปากน้ำโพ จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลเครือข่าย กู้ชีพ-กู้ภัย หน่วยงานรัฐและเอกชน จ.นครสวรรค์

โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ และ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล หรือ PRINC จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลเครือข่าย กู้ชีพ-กู้ภัย หน่วยงานรัฐ-เอกชน จังหวัดนครสวรรค์ ประจำปี 2566 โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวชุติพร  เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ด้านสังคม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด และนายพิศาล ไพศาลพยัคฆ์ ผู้อำนวยการบริหาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุทัยธานี เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของกิจกรรมในครั้งนี้