Header

mark

ไขข้อสงสัย ฝีดาษลิง สายพันธุ์ใหม่ ‘Clade 1B’ เหตุใดจึงถูกยกระดับเป็นภัยฉุกเฉินระหว่างประเทศ

blog

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) สายพันธุ์ Clade 1B ทั่วโลกรวมถึงไทยที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้แถลงข่าวการพบผู้ป่วยสงสัยฝีดาษลิงสายพันธุ์ Clade 1B รายแรกในประเทศไทย เดินทางจากทวีปแอฟริกา ตรวจพบอาการสงสัยโรคฝีดาษลิง สายพันธุ์ Clade 1B ที่ทั่วโลกกำลังเฝ้าระวัง ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงได้ขยายไปทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศแถบทวีปแอฟริกา 

สาเหตุที่ทั่วโลกต่างเฝ้าระวัง เนื่องจากโรคฝีดาษลิง สายพันธุ์ Clade 1B มีความรุนแรงและแพร่ระบาดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น โดยเฉพาะในเด็กและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำอย่างผู้สูงอายุ ซึ่งอาการเริ่มต้นคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย ก่อนจะมีผื่นที่เริ่มจากใบหน้าแล้วแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ผื่นจะพัฒนาเป็นตุ่มหนองและแผลที่แห้งตกสะเก็ด

สำหรับไวรัสฝีดาษลิง แบ่งออกได้หลายสายพันธุ์ โดยมี 2 สายพันธุ์หลัก คือ Clade 2 และ Clade 1B ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วและมีลักษณะการติดเชื้อที่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่นๆ กำลังได้รับความสนใจ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่อาจส่งผลต่อการแพร่กระจายและความรุนแรงของโรค

ทำไมต้องเฝ้าระวังกับสายพันธุ์ ‘Clade 1B’

  • แพร่เชื้อง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ผ่านการสัมผัสตุ่มน้ำหรือของเหลวจากตุ่มน้ำ
  • มักมีอาการรุนแรงกว่า เช่น ไข้สูง ผื่นจำนวนมาก และภาวะแทรกซ้อน
  • อัตราการเสียชีวิตสูงกว่าสายพันธุ์อื่น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ

เราจะป้องกันฝีดาษลิงได้อย่างไร ?

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนเฉพาะสำหรับโรคฝีดาษลิง แต่วัคซีนฝีดาษ (Smallpox) ที่เคยใช้ในอดีตสามารถป้องกันได้บางส่วน เนื่องจากไวรัสฝีดาษและฝีดาษลิงมีความคล้ายคลึงกัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567 สภากาชาดไทย ได้เปิดให้บริการวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ณ ตึกราชูทิศ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย นอกจากนี้ยังมีมาตรการป้องกันโรคฝีดาษลิง ดังนี้

  1. รักษาความสะอาด โดยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
  2. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่ไม่รู้จัก
  3. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า ผ้าขนหนู หรือเครื่องนอน
  4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีผื่น
  5. ไม่สัมผัสตุ่มหนองหรือบาดแผลของสัตว์ที่ติดเชื้อ รวมถึงซากสัตว์ป่า
  6. บริโภคเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกดี
  7. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ควรเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสังเกตอาการตนเอง ในกรณีที่ต้องเดินทางไปประเทศกลุ่มเสี่ยงในแถบทวีปแอฟาริกา ขณะเดียวกันหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะโรคดังกล่าวติดต่อจากการสัมผัส และการมีเพศสัมพันธ์ หากตรวจพบโรคฝีดาษลิงตั้งแต่เนิ่นๆ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงอาการรุนแรงของโรค ที่มีโอกาสรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาด หากสงสัยว่าตนเองอาจติดเชื้อหรือพบอาการที่เข้าข่าย เช่น มีไข้ ผื่น หรือตุ่มที่ไม่คุ้นเคย ควรเข้ารับการตรวจและพบแพทย์ทันที

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม: อาคาร 4 ชั้น 1 แผนกโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลพิษณุเวช จ.พิษณุโลก 07:00 - 22:00 น.
โทร 055-90-9000 ต่อ 520101 และ 520102 หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.pitsanuvej.com/

เรียบเรียงโดย : ธัญชณัท เอกจิรวรรธ

ตรวจโดย : นพ.ศราวุฒิ มากล้น อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลพิษณุเวช ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ และ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล (PRINC) 

บทความสุขภาพอื่น ๆ

บทความทางการแพทย์

ไข้หวัดใหญ่ ต่างจากไข้หวัดธรรมดายังไง

26 มีนาคม 2567

ไข้หวัดใหญ่ อาการเป็นยังไง ต่างจากไข้หวัดธรรมดายังไง อันตรายกว่าที่คิด

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคประจำฤดูกาลที่มักกลับมาระบาดในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาวของทุกปี แม้ว่าไข้หวัดใหญ่ จะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็คงจะดีกว่า ถ้าหากเราป้องกันการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่แรก

บทความทางการแพทย์

เสียงก๊อกแก๊กเวลาลุก นั่ง มาพร้อมอาการปวดบริเวณเข่า อาจข้อเข่าเสื่อม

13 มีนาคม 2567

โรคข้อเข่าเสื่อม อาการเป็นอย่างไร สาเหตุจากอะไร อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

เสียงก๊อกแก๊กเวลาลุก นั่ง มาพร้อมอาการปวดบริเวณเข่า นี่อาจเป็นสัญญาณเตือน “ข้อเข่าเสื่อม” หลายคนมักเข้าใจว่าโรคนี้เป็นโรคที่เกิดกับผู้สูงวัยตามสภาวะเสื่อมถอยของร่างกายเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น แต่ทว่าแท้จริงแล้วโรคนี้สามารถเกิดได้ในคนอายุน้อยได้เช่นกัน

บทความทางการแพทย์

ต่อมลูกหมากโต ผู้ชายไม่ควรมองข้าม

12 มีนาคม 2567

โรคต่อมลูกหมากโต คืออะไร อาการและการรักษาเป็นยังไง

โรคต่อมลูกหมากโตหรือ BPH (Benign Prostate Hyperplasia) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มากขึ้นจากการเพิ่มจำนวนเซลล์และเนื้อเยื่อของตัวต่อมลูกหมาก