โรคพาร์กินสัน รู้ทันก่อนสาย อาการและการรักษา (Parkinson's disease)
28 มีนาคม 2567
‘พาร์กินสัน’ สร้างปัญหาการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ รับการฟื้นฟูอย่างถูกต้อง ใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงตามปกติ
โรคพาร์กินสัน หรือ ‘โรคสั่นสันนิบาต’ เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีชื่อคุ้นหูสำหรับใครหลายคน และมักพบได้บ่อยรองลงมาจากโรคอัลไซเมอร์ อย่างไรก็ตาม ยังมีคนจำนวนมากที่ไม่ทราบว่า จริง ๆ แล้ว โรคพาร์กินสันเกิดจากอะไร และสามารถรักษาได้อย่างไร โดยวันนี้ เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จะมาแบ่งปันเนื้อหาสาระดี ๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษาโรคพาร์กินสัน ให้ทุกคนได้ทราบกัน
พาร์กินสัน เกิดจากอะไร ?
‘โรคพาร์กินสัน’ (Parkinson’s Disease) เป็นโรคที่มักเกิดในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีสาเหตุมาจากการทำงานที่ผิดปกติของส่วนหนึ่งของสมองส่วนกลางที่มีชื่อว่า ‘เบซอลแกงเกลีย’ ซึ่งสมองส่วนนี้ ทำหน้าที่ผลิตสารสื่อประสาทสำคัญที่มีชื่อว่า ‘โดพามีน’ ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อสมองส่วนนี้ทำงานผิดปกติ จะนำไปสู่การผลิตสารโดพามีนที่ลดลง และผลกระทบที่ตามมาก็คือการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ผิดปกตินั่นเอง
พาร์กินสัน มีอาการอย่างไร ?
- ร่างกายสั่น เกร็ง
- ข้อต่อติดแข็ง เคลื่อนไหวช้า การทรงตัวไม่ดี
- เขียนตัวอักษรเล็กลง
- เสียงค่อยและเบาลง
- สีหน้าไร้อารมณ์
- หลังค่อม ตัวงุ้มลง
- การรับกลิ่นลดลง
- มีการขยับแขนและขาอย่างรุนแรงขณะหลับ
พาร์กินสัน รักษาได้อย่างไร ?
ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดได้ แต่เราสามารถช่วยประคับประคองให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้:
- การทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง เสริมความแข็งแรง และความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ
- การรักษาด้วยการรับยา
- การรักษาด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึก ในกลุ่มผู้ป่วยระยะท้าย
พาร์กินสัน ป้องกันได้อย่างไร ?
ปัจจุบัน ยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดโรคพาร์กินสัน แต่มีสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น อุบัติเหตุทางสมอง และการรับยาที่เกี่ยวข้องกับอาการทางจิตเวช แม้ว่าทางการแพทย์จะยังไม่ทราบสาเหตุของโรค แต่เราสามารถชะลอความเสื่อมของเซลล์สมองได้โดยการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ ตลอดจนรักษาสุขภาพใจ ใช้ชีวิตให้ไม่วิตกกังวล หรือเครียดจนเกินไป
หากพบสัญญาณโรคพาร์กินสัน ควรปรึกษาแพทย์ทันที
หากพบว่าตนเองหรือคนในครอบครัวเริ่มมีอาการผิดปกติทางร่างกาย ที่อาจเป็นสัญญาณของโรคพาร์กินสัน ควรเข้ารับคำปรึกษาโดยแพทย์ทันที และหากตรวจวินิจฉัยพบโรคพาร์กินสันแล้ว ควรรีบเข้ารับการกายภาพบำบัดที่ถูกต้องกับผู้เชี่ยวชาญ
ข้อมูลโดย นพ.เจษฎา ศรีกุลศศิธร อายุรแพทย์ระบบประสาท รพ.พิษณุเวช
ข้อมูล ณ ตุาคม .66
บทความสุขภาพอื่น ๆ
บทความทางการแพทย์
อาหารฤทธิ์เย็น ดับพิษร้อน ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยประยุกต์
ในช่วงเดือนมีนาคมเป็นต้นไป ประเทศไทยจะเข้าสู่ช่วงที่อุณหภูมิสูงที่สุดในรอบปี ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมินี้เอง มีส่วนทำให้ร่างกายของเราร้อนมากกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการ หรือภาวะต่าง ๆ ตามมา นั่นจึงเป็นสาเหตุให้เราควรรักษาอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อเลี่ยงอาการ หรือภาวะผิดปกติต่าง ๆ
บทความทางการแพทย์
26 มีนาคม 2567
ไข้หวัดใหญ่ อาการเป็นยังไง ต่างจากไข้หวัดธรรมดายังไง อันตรายกว่าที่คิด
ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคประจำฤดูกาลที่มักกลับมาระบาดในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาวของทุกปี แม้ว่าไข้หวัดใหญ่ จะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็คงจะดีกว่า ถ้าหากเราป้องกันการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่แรก
บทความทางการแพทย์
29 ตุลาคม 2566
อาหารต้องห้ามที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้
การดูแลสุขภาพในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ต้องใส่ใจอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอันดับแรก เนื่องจากอาหารที่คุณแม่เลือกจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของทารกในครรภ์ ดังนั้นมีอาหารบางอย่างที่ไม่แนะนำให้คุณแม่รับประทานเพื่อปกป้องสุขภาพของทารกและการตั้งครรภ์