Header

mark

“อัณฑะบิดหมุน” รู้ทันรักษาไว ปล่อยนานอาจต้องตัดลูกอัณฑะ

blog

โรคอัณฑะบิดหมุน (Testicular Torsion) มีโอกาสพบได้บ่อยในวัยรุ่นและเด็กชาย เป็นภาวะฉุกเฉินที่หากปล่อยไว้ อันตรายจนอาจต้องตัดเอาลูกอัณฑะออก เราจะมีปฏิบัติตัวอย่างไรให้ห่างไกลจากภาวะโรคนี้

นพ.ปวิชญ์ วิรัชศิลป์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ จ.ชุมพร ในฐานะแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรม ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับโรคอัณฑะบิดหมุนว่า เป็นโรคที่พบได้บ่อยในวัยรุ่นชายที่มีอายุราว 12-18 ปี ซึ่งได้กล่าวถึงว่าโรคนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เด็กกำลังเติบโตอยู่ และมีการเปลี่ยนแปลงของอัณฑะ อาการที่พบอาจเกิดอาการปวดที่อัณฑะข้างใดข้างหนึ่งทั้งด้านซ้ายและด้านขวา จึงจำเป็นต้องระมัดระวัง แนะหากมีอาการปวดอัณฑะมากและเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือบิดเบี้ยวของอัณฑะ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาภายใน 4 ชั่วโมง หากการรักษาไม่ได้ดำเนินการทันที อาจส่งผลให้เกิดการขาดเลือดที่อัณฑะและอาจต้องทำการผ่าตัดนำลูกอัณฑะออกไป

ส่วนสาเหตุของภาวะอัณฑะบิดหมุน เกิดจากหลอดเลือดบิดเกลียว จากความผิดปกติของถุงอัณฑะหย่อนคล้อยหรือขนาดเล็ก อาจ หรือมี ติ่งเนื้อที่ถุงอัณฑะ หรืออาจจะเกิดจากพันธุกรรมได้ ซึ่งอาการของโรคอาจจะยังไม่แสดง ถ้ายังไม่มีปัจจัยไปกระตุ้น เช่น ท่าการนอน การทำกิจกรรมที่ส่งผลต่อการกระทบกระเทือนของร่างกาย โดยเฉพาะในช่วงที่อายุยังไม่มาก

“เคยพบเคสที่เป็นเด็กนักเรียนที่ปิดเทอมมาเที่ยวทะเล จ.ชุมพร พบอาการปวด หลังจากกระโดด ตอนนั้นเด็กดีใจที่ได้เห็นคลื่นทะเล มีบางเคสเกิดอาการปวดทันทีหลังจากการนอนหงายและนอนคว่ำสลับกัน ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยอายุระหว่าง 12-18 ปี จึงแนะนำเด็กวัยรุ่นในช่วงอายุนี้ หลีกเลี่ยงเล่นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การขี่จักรยานเร็วหรือกระโดดตีลังกา เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะโรคอัณฑะบิดหมุน”, นพ.ปวิชญ์ กล่าว

สำหรับการรักษาโรคอัณฑะบิดหมุนในช่วงเวลาที่เหมาะสมจะทำให้มีโอกาสหายจากโรคมากขึ้น ดังนั้นเด็กชายควรต้องสังเกตหากมีอาการปวดบริเวณอัณฑะมาก และสังเกตรูปร่างมีการเปลี่ยนแปลงหรือบิดเบี้ยวไป ควรรีบพบแพทย์ทันที

 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม:
แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) เฉพาะทางศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลวิรัชศิลป์ จ.ชุมพร
ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ โทร: 077-542-594 (ติดต่อแผนกผู้ป่วยนอก)
หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.virajsilp.com/medical-center/แผนกศัลยกรรม-Surgical-Department

เรียบเรียงโดย : ธัญชณัท เอกจิรวรรธ

ตรวจโดย : นพ.ปวิชญ์ วิรัชศิลป์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ จ.ชุมพร ในฐานะแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรม

บทความสุขภาพอื่น ๆ

บทความทางการแพทย์

โรคไทรอยด์เป็นพิษ อย่าคิดว่าไม่อันตราย

13 มีนาคม 2567

ไทรอยด์เป็นพิษ คืออะไร อาการเป็นอย่างไร รักษาได้อย่างไร

อาการน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างผิดปกติ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น เห็นก้อนขนาดใหญ่ที่บริเวณคอ หากคุณมีอาการเหล่านี้ ร่างกายกำลังบ่งบอกว่าต่อมไทรอยด์ของคุณมีความผิดปกติ อาจเสี่ยงไทรอยด์เป็นพิษ

บทความทางการแพทย์

อัลไซเมอร์​ มีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง

29 มีนาคม 2567

อัลไซเมอร์ โรคที่เกิดจากการเสื่อมของโปรตีนในสมอง ไม่ใช่โรคหลงลืม ในผู้สูงอายุ อย่างที่หลายคนเข้าใจ

‘อัลไซเมอร์’ เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานของเนื้อเยื่อสมองซึ่งไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติ โรคอัลไซเมอร์มักถูกตรวจวินิจฉัยพบในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ไม่ใช่ผู้สูงอายุทุกคนที่จะมีอาการของโรคอัลไซเมอร์

บทความทางการแพทย์

ไวรัส RSV คืออะไร อาการคล้ายไข้หวัด แต่อาจอันตรายมากกว่า

28 มีนาคม 2567

ไวรัส RSV คืออะไร อาการคล้ายไข้หวัด แต่อาจอันตรายมากกว่า

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RSV” ที่มักพบในเด็ก โรคชนิดนี้มีอาการเริ่มต้นคล้ายไข้หวัด แต่อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงได้มากกว่า โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ถึงขั้นปอดอักเสบและเสียชีวิตได้