Header

mark

สัญญาณเตือนโรคร้าย “มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก”

01 พฤศจิกายน 2566

avatar เขียนโดย : พญ.วีรนุช รัตนเดช อายุรแพทย์โรคมะเร็ง โรงพยาบาลพิษณุเวช

blog

          ท้องผูกสลับท้องเสีย อาการที่ดูเหมือนจะปกติแต่รู้หรือไม่!! นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 3 ของคนไทย ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะรู้ว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือเมื่อมาพบแพทย์ก็มักพบโรคในระยะที่เป็นมากแล้ว ซึ่งทำให้มีโอกาสการเสียชีวิตสูง ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักกันให้มากขึ้นเพื่อวางแผนการรักษาอย่างทันท่วงที มีโอกาสที่จะรักษาหายขาดสูงขึ้น

 

ทำความรู้จักกับมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก


          มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักคือโรคที่พบมากเป็นอันดับ 3 ของมะเร็งทุกชนิดและเป็นสาเหตุการตายหนึ่งใน 3 อันดับแรกของโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในคนไทย มักเกิดจากติ่งเนื้อขนาดเล็ก ที่เรียกว่า โพลิป (Polyp) เป็นเซลล์เนื้อผิดปกติ ที่งอกจากผนังลำไส้ มีขนาดประมาณปลายนิ้วก้อย เนื่องจากขนาดที่เล็กของติ่งเนื้อ จึงทำให้ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี ในการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งลำไส้
     ในปัจจุบันก็ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก แต่สิ่งเหล่านี้อาจเป็นบางปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ยิ่งอายุมากยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น มักพบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป สำหรับผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะบุคคลในครอบครัวนั้นเป็นญาติสายตรงลำดับแรก ได้แก่ พ่อแม่ พี่น้องและบุตร นอกจากปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วก็ยังมีปัจจัยอื่นอีกเช่น การรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือประเภทเนื้อแดง ที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนนานๆ มากเกินไป การรับสารพิษเข้าสู่ร่างกายและมีการตกค้างที่ลำไส้ มักพบสารพิษในอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง อาหารหมักดอง และ สารเคมีจากผักที่ไม่สะอาด
แนะนำให้มาปรึกษาแพทย์เพื่อให้ประเมินความเสี่ยงและเริ่มทำการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้โดยไม่ต้องรอให้เกิดอาการผิดปกติ 

สังเกตสัณญาณเตือนของมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

  • มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย
  • ถ่ายเป็นเลือด มูกเลือด หรือ ขับถ่ายผิดปกติไปจากเดิม เช่น อุจจาระออกมาเป็นเม็ดเล็กลง หรือขับถ่ายไม่สุด
  • อาการซีด ซึ่งอาจเกิดจากการเสียเลือดเรื้อรัง แม้ไม่มีเลือดในอุจจาระที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า
  • คลำได้ก้อนที่ท้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนแข็งนูนออกมาบริเวณท้องน้อยด้านขวา
  • อาการจุกเสียด แน่น หรือปวดท้องบ่อยๆ 
  • ปวดเบ่งบริเวณทวารหนักคล้ายปวดอุจจาระตลอดเวลา

หากมีอาการเหล่านี้ประมาณ 3 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น ควรเข้าพบแพทย์

การตรวจและการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก


          การสังเกตอุจจาระและการเข้ารับ “การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่” อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่ยังไม่มีอาการหรือมีอาการระยะเริ่มต้นมีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้เพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาดได้ สำหรับการตรวจวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยการตรวจเลือดในอุจจาระ การตรวจลำไส้ใหญ่โดยการสวนแป้งแบเรียมเข้าไปทางทวารหนักและการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
            สำหรับการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักนั้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของมะเร็ง ระยะของโรค รวมถึงสภาพร่างกายและความพร้อมของผู้ป่วยขณะนั้นว่าเหมาะสมกับวิธีใดมากที่สุด โดยมะเร็งระยะเริ่มต้นสามารถรักษาได้โดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และตัดก้อนเนื้อออก ในรายที่เป็นมากจนมะเร็งเลยชั้นผิวลำไส้ ต้องได้รับการรักษาผ่าตัดซึ่งอาจเป็นแบบส่องกล้องเจาะช่องท้องหรือแบบเปิด และมักต้องมีการรักษาร่วมหลังการผ่าตัด เช่น การใช้ยาเคมีบำบัดหรือ การฉายรังสีรักษา

         โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หากสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ จะสามารถรักษาให้หายขาดได้มากขึ้นคอยสังเกตอาการตัวเองว่าปวดท้อง  ถ่ายเป็นมูกเลือด ท้องผูกสลับท้องเสีย หรือคลำได้ก้อนหรือไม่ จะช่วยให้ตรวจพบรอบโรคได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือมะเร็งระยะแรก หากพบอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาต่อไป
 

บทความโดย : พญ.วีรนุช รัตนเดช อายุรแพทย์โรคมะเร็ง โรงพยาบาลพิษณุเวช

ข้อมูล ณ เดือนกรกฏาคม 2566

บทความสุขภาพอื่น ๆ

บทความทางการแพทย์

12 เมษายน 2567

เล่นน้ำสงกรานต์อย่างไร ให้ปลอดภัยจาก “ตาอักเสบ”

"ตาอักเสบ" เกิดจากการระคายเคืองหรือการติดเชื้อในส่วนของตาได้แก่เยื่อบุตา กระจกตารวมถึงเปลือกตา อาการที่พบได้ทั่วไป

บทความทางการแพทย์

รับมือกับโรคภูมิแพ้…ในวิกฤตฝุ่น PM 2.5

13 พฤศจิกายน 2566

รับมือกับโรคภูมิแพ้…ในวิกฤตฝุ่น PM 2.5

ด้วยปัญหามลภาวะในปัจจุบันไม่ว่าจะปัญหาจากฝุ่น PM 2.5 หรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้พบผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มพบผู้ป่วยสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนหลาย ๆ คนมองว่าโรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดปกติสำหรับทุกคนและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว

บทความทางการแพทย์

โรคพาร์กินสันเกิดจากอะไร และสามารถรักษาได้อย่างไร

28 มีนาคม 2567

โรคพาร์กินสัน รู้ทันก่อนสาย อาการและการรักษา (Parkinson's disease)

โรคพาร์กินสัน หรือ ‘โรคสั่นสันนิบาต’ เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีชื่อคุ้นหูสำหรับใครหลายคน อย่างไรก็ตาม ยังมีคนจำนวนมากที่ไม่ทราบว่า จริง ๆ แล้ว โรคพาร์กินสันเกิดจากอะไร และสามารถรักษาได้อย่างไร