Header

mark

‘มะเร็งปากมดลูก’ สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของหญิงไทย คัดกรองก่อน ป้องกัน-รักษาได้

28 มีนาคม 2567

avatar เขียนโดย : พญ.อรรถยา รัตนแก้ว ,รพ.พิษณุเวช

blog

‘มะเร็งปากมดลูก’ สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของหญิงไทย คัดกรองก่อน ป้องกัน-รักษาได้

 

มะเร็งปากมดลูก เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบอันดับต้น ๆ ที่พรากชีวิตหญิงไทย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโรคดังกล่าวจะฟังดูอันตราย อีกทั้งยังถูกตรวจวินิจฉัยพบได้บ่อย แต่มะเร็งปากมดลูกมักถูกมองข้ามโดยกลุ่มวัยรุ่น และผู้ใหญ่ตอนต้น ว่าเป็นโรคที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป โดยวันนี้ เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จะมาแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก ให้ทุกคนได้เรียนรู้กัน

มะเร็งปากมดลูก คืออะไร ?

‘มะเร็งปากมดลูก’ เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในเซลล์ปากมดลูก ซึ่งอยู่บริเวณช่วงล่างของมดลูกและเชื่อมต่อกับช่องคลอด โดยโรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดฮิวแมนแปปปิโลมาไวรัส (Human Papillomavirus) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘เอชพีวี’ (HPV) นั่นเอง ซึ่งเป็นเชื้อที่มักจะติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์

มะเร็งปากมดลูก สามารถรักษาได้อย่างไร

 

มะเร็งปากมดลูก มีอาการแสดงอย่างไร ?

โดยปกติแล้ว มะเร็งปากมดลูก มักจะไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่เราสามารถสังเกตความผิดปกติของร่างกาย ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งปากมดลูกได้ ดังนี้:

  • ตกขาวผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีมากกว่าปกติ หรือมีเลือดปน
  • เลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ หลังมีเพศสัมพันธ์ เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • เลือดออกหลังจากหมดประจำเดือน หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ปวดท้องน้อย โดยเฉพาะปวดบริเวณหัวหน่าว
  • ปัสสาวะไม่ค่อยออก มีเลือดปน/ อุจจาระปนเลือด
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ปวดหลัง ขาบวม ไตวาย (กรณีที่มะเร็งมีระยะลุกลามรุนแรง)

มะเร็งปากมดลูก สามารถรักษาได้อย่างไร ?

การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก อาจแตกต่างกันออกไปตามระยะของอาการ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะใหญ่ ๆ ได้แก่:

  • ระยะก่อนมะเร็ง
    • การคัดกรอง ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ด้วยการตรวจภายใน ตรวจแพปสเมียร์ (Pep Smear) และการตรวจด้วยกล้องขยาย (Colposcope) ทุก 4 - 6 เดือน เนื่องจากรอยโรคบางชนิดสามารถหายได้เองใน 1 - 2 ปี
    • การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น
    • การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด
  • ระยะลุกลาม การเลือกวิธีในการรักษาขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวของผู้ป่วย และระยะของโรค
    • ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 บางราย: สามารถรักษาได้โดยการตัดมดลูกออกแบบกว้าง ร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองเชิงกรานออก
    • ระยะที่ 2 ถึงระยะที่ 4: สามารถรักษาได้โดยการฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด

มะเร็งปากมดลูก มักจะไม่แสดงอาการในระยะแรก

มะเร็งปากมดลูก สามารถป้องกันได้อย่างไร ?

การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี (HPV) เป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพที่สุด เนื่องจากเชื้อเอชพีวีเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูก การฉีดวัคซีนเอชพีวี จะต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็ม เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1 - 2 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน นอกเหนือจากการรับวัคซีน การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางการป้องกัน และรักษาที่สำคัญ

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ป้องกัน-รักษาได้

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คือ การตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก เป็นการตรวจหารอยโรคระยะก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง และมะเร็งระยะเริ่มแรก หากเราตรวจวินิจฉัยพบโรคในช่วงนี้ จะทำให้สามารถรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ รวมถึงรักษามะเร็งระยะเริ่มแรกอย่างได้ผล

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ควรทำทุก 2 - 3 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป โดยวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมใช้ ได้แก่: 

  • การตรวจแพปสเมียร์ (Pep Smear) เป็นการตรวจทางเซลล์วิทยา โดยการตรวจภายในด้วยกล้องขยาย เพื่อทำการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
  • การตรวจด้วยวิธี ThinPrep Pap Test เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว สามารถเก็บตัวอย่างเซลล์ได้มากกว่า
  • การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ด้วยวิธีการตรวจ DNA แบ่ง เป็นการตรวจร่วมกับการตรวจทางเซลล์วิทยา และการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV เพียงอย่างเดียว วิธีการตรวจนี้สามารถระบุสายพันธ์ุของเชื้อไวรัสได้ และสามารถค้นพบรอยโรคได้เร็ว
  • ตรวจด้วยกล้องขยาย (Colposcope) ตรวจร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา
  • การตรวจวิธีอื่น ๆ ที่อาจช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก ได้แก่
    • การขูดภายในปากมดลูก
    • การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า
    • การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด

 

บทความโดย : พญ.อรรถยา รัตนแก้ว ,รพ.พิษณุเวช

ข้อมูล ณ ต.ค.66

 

บทความสุขภาพอื่น ๆ

บทความทางการแพทย์

เจ็บ แน่นหน้าอก สัญญาณอันตราย เสี่ยง “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ”

06 พฤศจิกายน 2566

เจ็บ แน่นหน้าอก สัญญาณอันตราย เสี่ยง “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ”

อาการเจ็บ แน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย ปวดร้าวที่แขนหรือไหล่ด้านหลัง อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่!!

บทความทางการแพทย์

รับมือกับโรคภูมิแพ้…ในวิกฤตฝุ่น PM 2.5

13 พฤศจิกายน 2566

รับมือกับโรคภูมิแพ้…ในวิกฤตฝุ่น PM 2.5

ด้วยปัญหามลภาวะในปัจจุบันไม่ว่าจะปัญหาจากฝุ่น PM 2.5 หรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้พบผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มพบผู้ป่วยสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนหลาย ๆ คนมองว่าโรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดปกติสำหรับทุกคนและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว

บทความทางการแพทย์

เฝ้าระวังการระบาดของไวรัส hMPV แนะวิธีป้องกันตัว
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เฝ้าระวังการระบาดของไวรัส hMPV แนะวิธีป้องกันตัว

โรคติดเชื้อไวรัส hMPV (Human Metapneumovirus) ซึ่งทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจนั้น พบได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว และพบผู้ป่วยสูงสุดในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยเชื้อ hMPV สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายจากการไอหรือจาม การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ และสัมผัสสารคัดหลั่ง