โรคกระเพาะ โรคยอดฮิตที่รบกวนการใช้ชีวิต มีอาการอย่างไร และต้องรักษายังไง
26 มีนาคม 2567
‘โรคกระเพาะ’ โรคยอดฮิตที่รบกวนการใช้ชีวิต มีอาการ เข้ารับการตรวจวินิจฉัย บรรเทาอาการได้
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ‘โรคกระเพาะอาหาร’ หรือ ‘โรคกระเพาะ’ เป็นโรคที่ถูกตรวจวินิจฉัยพบได้บ่อย มีอาการที่ค่อนข้างรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ตลอดจนอาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นที่มีความรุนแรงมากกว่าอีกด้วย อย่างไรก็ดี โรคกระเพาะ ไม่ใช่แค่โรคที่เกิดขึ้นจากการไม่รับประทานอาหารตามเวลา หรือรับประทานอาหารน้อย โดยวันนี้ เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จะมาแบ่งปันเนื้อหาสาระดี ๆ เกี่ยวกับโรคกระเพาะ ให้ทุกคนได้ทราบกัน
โรคกระเพาะ มีสาเหตุมาจากอะไร ?
โรคกระเพาะ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น:
- การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร
- การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ หรือการใช้ยาแอสไพริน
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ตลอดจน ความเครียด
โรคกระเพาะ มีอาการอย่างไร ?
ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร อาจมีอาการที่แตกต่างกันออกไป เช่น:
- มีอาการปวด จุกแน่น หรือแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่
- มีอาการแน่นท้องหลังรับประทานอาหาร อิ่มเร็ว
- ในบางราย อาจมีอาการกรดไหลย้อนร่วมด้วย
หากมีสัญญาณ โรคกระเพาะ ควรทำอย่างไร ?
หากมีอาการ สามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน เพื่อประเมินความรุนแรง ตรวจเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร รวมทั้งช่วยวินิจฉัยแยกโรคอื่น ๆ ในกระเพาะอาหารที่มีอาการคล้ายคลึงกัน เช่น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น
ตรวจวินิจฉัย เข้ารับการรักษา บรรเทาอาการได้
หลังจากตรวจวินิจฉัยพบโรคกระเพาะ สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาตามแพทย์สั่ง เช่น ยาต้านการหลั่งกรด ร่วมกับยารักษาตามอาการอื่น ๆ ตลอดจนปรับพฤติกรรม และเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น รับประทานอาหารให้ตรงเวลา งดดื่มสุรา สูบบุหรี่หรือยาที่อาจทำให้โรครุนแรงขึ้น เป็นต้น
บทความโดย : นพ.ภูวพัศ พิศุทธกุล, รพ.พิษณุเวช, ต.ค.6
บทความสุขภาพอื่น ๆ
บทความทางการแพทย์
29 ตุลาคม 2566
อาหารต้องห้ามที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้
การดูแลสุขภาพในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ต้องใส่ใจอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอันดับแรก เนื่องจากอาหารที่คุณแม่เลือกจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของทารกในครรภ์ ดังนั้นมีอาหารบางอย่างที่ไม่แนะนำให้คุณแม่รับประทานเพื่อปกป้องสุขภาพของทารกและการตั้งครรภ์
ข่าวสุขภาพ
กรมการแพทย์ แนะ วิธีการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากฝุ่น PM2.5
ฝุ่นละออง PM2.5 ที่มีค่าเกินมาตรฐาน เป็นมลพิษทางอากาศที่อันตรายต่อสุขภาพของเรา เนื่องด้วย PM2.5 เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
บทความทางการแพทย์
28 มีนาคม 2567
โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ รู้จักสัญญาณเตือนก่อนเสียการมองเห็น
โรคพบได้บ่อยในวัยผู้สูงอายุ คือ “โรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration: AMD)” โรคนี้ในระยะแรกผู้ป่วยมักจะไม่แสดงอาการสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ จนหลายคนชะล่าใจ และทำให้มารักษาล่าช้