Header

mark

‘ความดันโลหิตสูง’ ต้นตอโรคร้าย ตรวจวินิจฉัยพบ ต้องรีบรักษาที่ต้นเหตุ

29 มีนาคม 2567

avatar เขียนโดย : นพ.เกียรติชัย เจริญสวรรค์, รพ.พิษณุเวช

blog

แน่นอนว่า ‘โรคความดันโลหิตสูง’ เป็นโรคที่คุ้นหูคนทุกวัย โดยตัวโรคความดันโลหิตสูงนี้ เป็นต้นตอของโรคร้ายมากมาย ที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ และป้องกันการเป็นโรคความดันโลหิตสูง วันนี้ เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จึงอยากจะมาแบ่งปันเนื้อหาสาระดี ๆ เกี่ยวกับโรคดังกล่าว ให้ทุกคนได้ทราบกัน

ความดันเท่าไร ที่เรียกว่าความดันสูง ?

ความดันเท่าไหร่ที่แปลว่าไม่ดี

ความดันโลหิตสูง มีอาการอย่างไร ?

  • เจ็บหน้าอกรุนแรง มีอาการใจสั่น
  • รู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ
  • มีอาการปวดศีรษะเฉียบพลัน
  • แขนขาซีกหนึ่งอ่อนแรง และหายเองในเวลาอันสั้น
  • ตาข้างใดข้างหนึ่งมองไม่เห็น และอาจกลับเป็นปกติในเวลาอันสั้น
  • อาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น มีอาเจียนร่วมกับอาการอื่น ๆ ที่กล่าวมา

ความดันโลหิตสูง มีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง มีอาการใจสั่น

 

ความดันโลหิตสูง อาจนำไปสู่โรคร้ายอะไรบ้าง ?

โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรคและภาวะต่าง ๆ มากมาย ตัวอย่างเช่น:

  • ไตวายเรื้อรัง เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ 
  • หลอดเลือดหัวใจหนา ส่งผลให้หัวใจขาดเลือด นำไปสู่หัวใจวาย
  • หลอดเลือดตีบ หรือโป่งพอง เลือดไปเลี้ยงอวัยวะทั่วร่างกายได้น้อยลง
  • จอประสาทตาเสื่อม
  • อัมพฤกษ์ อัมพาต

ความดันโลหิตสูง ป้องกัน-ควบคุมได้ยังไง

 

ความดันโลหิตสูง ป้องกัน-ควบคุมได้อย่างไร ?

  • ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมตามดัชนีมวลกาย
  • ควบคุมอาหาร เช่น ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ รับประทานผักและผลไม้เพิ่มในทุกมื้ออาหาร เลี่ยงอาหารรสเค็ม ดื่มนมไขมันต่ำเป็นประจำ และรับประทานถั่วเมล็ดแห้งเพื่อเพิ่มแมกนีเซียม เป็นต้น
  • การออกกำลังกายอย่างถูกต้อง และเหมาะสม ภายใต้การดูแลของแพทย์ โดยเน้นกีฬา หรือกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น แขน ขา หรือลำตัว เพื่อเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งสมรรถภาพของร่างกาย เช่น การเดิน การวิ่ง ว่ายน้ำ หรือเต้นแอโรบิก อย่างสม่ำเสมอ 5 - 7 วัน/สัปดาห์ และควรใช้เวลาออกกำลังกาย 30 - 60 นาที/ครั้ง

 

บทความโดย : นพ.เกียรติชัย เจริญสวรรค์, รพ.พิษณุเวช,ต.ค.66

ข้อมูล ณ ต.ค.66

 

บทความสุขภาพอื่น ๆ

บทความทางการแพทย์

อาหารฤทธิ์เย็น ดับพิษร้อน ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยประยุกต์

ในช่วงเดือนมีนาคมเป็นต้นไป ประเทศไทยจะเข้าสู่ช่วงที่อุณหภูมิสูงที่สุดในรอบปี ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมินี้เอง มีส่วนทำให้ร่างกายของเราร้อนมากกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการ หรือภาวะต่าง ๆ ตามมา นั่นจึงเป็นสาเหตุให้เราควรรักษาอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อเลี่ยงอาการ หรือภาวะผิดปกติต่าง ๆ

บทความทางการแพทย์

ไขข้อสงสัย: โรคใหลตายคืออะไร?

ในอดีต หรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน ‘โรคใหลตาย’ อาจเป็นนิยามที่ถูกเอามาใช้ในการอธิบายการเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ

บทความทางการแพทย์

ปอดอุดกั้นเรื้อรัง เกิดมาจากการอักเสบหรือเสียหายของ หลอดลม เนื้อปอด และหลอดเลือดปอด

28 มีนาคม 2567

‘ปอดอุดกั้นเรื้อรัง’ รักษาหายขาดไม่ได้ แต่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ช่วยป้องกัน-ฟื้นฟูได้

‘โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง’ เป็นอีกหนึ่งกลุ่มของโรคปอดอักเสบเรื้อรังที่ถูกตรวจวินิจฉัยพบได้บ่อย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประชากรทั่วโลก