Header

mark

ไข้หวัดใหญ่ อาการเป็นยังไง ต่างจากไข้หวัดธรรมดายังไง อันตรายกว่าที่คิด

26 มีนาคม 2567

avatar เขียนโดย : พญ.ประพิมพ์ดาว คำดี, กุมารเวชศาสตร์, รพ.พริ้นซ์ สกลนคร

blog

‘ไข้หวัดใหญ่’ โรคประจำฤดูกาล ที่อันตรายกว่าที่คิด รับวัคซีน ป้องกันได้

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคประจำฤดูกาลที่มักกลับมาระบาดในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาวของทุกปี แม้ว่าไข้หวัดใหญ่ จะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็คงจะดีกว่า ถ้าหากเราป้องกันการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่แรก โดยวันนี้ เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จะมาแบ่งปันเนื้อหาสาระดี ๆ เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ ให้ทุกคนได้ทราบกัน

โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคประจำฤดูกาลมักมาช่วงฤดูฝน

ไข้หวัดใหญ่ คืออะไร ?

‘ไข้หวัดใหญ่’ เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) สามารถติดต่อกันได้ผ่านการหายใจ ไอ และจาม จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าเพียงแค่ครึ่งปี พ.ศ. 2562 มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วประเทศเกือบ 2 แสนราย

โรคไข้หวัดใหญ่ มีอาการอย่างไร ?

  • โดยทั่วไป มีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา
  • เกิดอาการขึ้นแบบทันทีทันใด
  • มีไข้สูงติดต่อกันหลายวัน โดยในเด็ก อาจมีอุณหภูมิสูง 39 - 40 องศาเซลเซียส
  • มีอาการหนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย
  • มีอาการเบื่ออาหาร

 

ที่สำคัญ เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่น โรคปอดอักเสบ และโรคสมองอักเสบ และในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน โรคไต โรคเอดส์ ควรพบแพทย์ทันทีเมื่อทราบว่าตนเองป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง และเหมาะสม

 

ไข้หวัดใหญ่เป็นแล้วสามารถหายได้เอง แต่กลุ่มเสี่ยงควรได้รับการรักษาอย่างดี

ไข้หวัดใหญ่ รักษาได้อย่างไร ?

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ จะสามารถหายป่วยได้เองหากมีอาการไม่มาก โดยสามารถรักษาตามอาการ เช่น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัวเมื่อมีไข้สูง ใช้ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาละลายเสมหะ ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย รับประทานอาหารอ่อน ๆ นอนพักมาก ๆ และเลี่ยงการออกกำลังกาย

 

หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชม ในเด็ก และ 48 ชม ใน ผู้ใหญ่ ประกอบกับมีอาการที่รุนแรงขึ้น เช่น ไข้สูงมากจนเพ้อ ซึม หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หน้ามืด มีอาการขาดน้ำ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอื่น ๆ ได้


เราสามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ด้วยการรับวัคซีน
 

ไข้หวัดใหญ่ ‘ป้องกันได้’ โดยการฉีดวัคซีน

การรับวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้สูง ละสามารถลดความรุนแรงของอาการ และโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนโอกาสเสียชีวิตได้ ที่สำคัญ ยังเป็นการลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นอีกด้วย และเนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อยู่เสมอ เราจึงควรรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน หรือช่วงก่อนฤดูฝนนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่:

 

  • ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี
  • หญิงตั้งครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
  • ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน
  • ผู้ที่มีโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคไต โรคเลือด
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือบกพร่อง
  • ผู้พิการทางสมองที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
  • บุคลากรทางการแพทย์ หรือผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยเป็นประจำ

ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ นม ไข่ กินอาหารปรุงสุกใหม่ ๆ
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์
  • ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร เป็นต้น
  • ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด หรือถ้าจำเป็นควรสวมหน้ากากอนามัย
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และสม่ำเสมอ
  • เลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานาน

 

บทความโดย: พญ.ประพิมพ์ดาว คำดี, กุมารเวชศาสตร์, รพ.พริ้นซ์ สกลนคร, ต.ค.66

 

บทความสุขภาพอื่น ๆ

ข่าวสุขภาพ

ไขข้อสงสัย ฝีดาษลิง สายพันธุ์ใหม่ ‘Clade 1B’ เหตุใดจึงถูกยกระดับเป็นภัยฉุกเฉินระหว่างประเทศ

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) สายพันธุ์ Clade 1B ทั่วโลกรวมถึงไทยที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้แถลงข่าวการพบผู้ป่วยสงสัยฝีดาษลิงสายพันธุ์ Clade 1B รายแรกในประเทศไทย เดินทางจากทวีปแอฟริกา ตรวจพบอาการสงสัยโรคฝีดาษลิง สายพันธุ์ Clade 1B ที่ทั่วโลกกำลังเฝ้าระวัง ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงได้ขยายไปทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศแถบทวีปแอฟริกา 

บทความประชาสัมพันธ์

Digital Hospital คืออะไร-ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ด้วยเทคโนโลยีที่ยกระโดด
Digital Hospital พลิกโฉมโรงพยาบาลสู่ยุคดิจิทัล ยกระดับการดูแลสุขภาพด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกด้านของชีวิต โรงพยาบาลก็ไม่พ้นจากการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน การเกิดขึ้นของ “Digital Hospital” หรือโรงพยาบาลดิจิทัล ไม่ได้เป็นเพียงแค่การนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบสุขภาพ แต่ยังเป็นการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ป่วยและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางการแพทย์ให้ดียิ่งขึ้น

บทความทางการแพทย์

โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของร่างกายตามอายุ มีการสะสมของเสียในดวงตาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

28 มีนาคม 2567

โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ รู้จักสัญญาณเตือนก่อนเสียการมองเห็น

โรคพบได้บ่อยในวัยผู้สูงอายุ คือ “โรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration: AMD)” โรคนี้ในระยะแรกผู้ป่วยมักจะไม่แสดงอาการสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ จนหลายคนชะล่าใจ และทำให้มารักษาล่าช้